(Game Designer)
นักออกแบบเกม
อาชีพที่เปรียบเสมือนผู้กำกับภาพยนตร์ ซึ่งสำหรับ Game Designer นั้น ถือได้ว่าเป็นคนต้นคิดรูปแบบเกมทั้งหมดว่าเกมที่ต้องการพัฒนาขึ้นมา มีวิธีการเล่น กฎกติกา ความยากง่าย ระยะเวลาที่ใช้ในการเล่นเป็นอย่างไร รวมถึงลักษณะหน้าตาของเกม และตลอดการทำงานจะเป็นผู้ที่มีหน้าที่ควบคุมดูแลภาพรวมของเกมตั้งแต่การออกแบบภาพร่างในขั้นต้น การทำให้เกมมีการเคลื่อนไหวไปจนถึงการเขียนโปรแกรมว่าการพัฒนาเกมออกมาหนึ่งเกมนั้น มีภาพรวมตรงตามที่ต้องการหรือไม่ อาจกล่าวได้ว่าเบื้องหลังความสนุกสนานของเกมแต่ละเกมขึ้นอยู่กับ Game Designer นั่นเอง
คุณสมบัติและทักษะ (Skill)
กว่าจะมาเป็น Game Designer ที่มีหน้าที่หลักในการดูแลองค์ประกอบต่างๆ ภายในเกม ต้องใช้ทักษะต่างๆ ได้แก่
คณิตศาสตร์
คณิตศาสตร์ Game Designer ต้องใช้ทักษะด้านคณิตศาสตร์ เพื่อนำมาคำนวณทั้งในเรื่องของความน่าจะเป็น เช่น เกมแนวต่อสู้ พลังโจมตีแบบนี้ค่าพลังของอีกฝ่ายจะลดเหลืออยู่ที่เท่าไหร่ หรือเกมไพ่ ไพ่หนึ่งสำรับจะต้องมีจำนวนเท่าไหร่ รวมถึงอาศัยความรู้เรื่องสมการ เป็นต้น
ภาษาต่างประเทศ
ภาษาต่างประเทศ ถือเป็นทักษะสำคัญสำหรับคนที่ผลิตเกมขายในตลาดต่างประเทศ เพราะเนื่องจากต้องสื่อสารเรื่องราวในเกมให้ออกมาเป็นที่เข้าใจได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นภาษากลาง ที่ใช้สื่อสารกันทั่วโลก หรือ ภาษาญี่ปุ่นและภาษาจีน ก็เป็นกลุ่มประเทศที่เล่นเกมเป็นจำนวนมากและเป็นผู้พัฒนาเกมเองด้วย
ความรู้รอบตัว
มีความรู้รอบตัว ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์มากเป็นพิเศษ และต้องมีความรู้ที่หลากหลาย เช่น การออกแบบเกมซอมบี้ ซึ่งจะต้องออกแบบให้ดูน่ากลัว ลักษณะซอมบี้ และบรรยากาศในเกมที่สมจริง ต่อมาคือความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือระดับพื้นฐาน ซึ่งต้องดูว่าสิ่งที่ออกแบบมาเหมาะสมกับการใช้เครื่องมือต่างๆ หรือไม่
บุคลิกลักษณะ (Character)
เปิดรับสิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ ชอบศึกษาหาความรู้ และสนใจสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว
มีความเป็นผู้นำ มีความรอบคอบ กล้าพูด กล้านำเสนอความคิดของตัวเองสื่อสารให้ทุกคนเข้าใจถึงแนวทางของเกมที่จะพัฒนาขึ้นมา
สื่อสารได้อย่างชัดเจน เด็ดขาด สื่อสารถึงแนวทางการทำงานในการออกแบบเกมที่ชัดเจน ควบคุมงานได้
มีความเข้าใจผู้อื่น ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
ชอบลองทำสิ่งใหม่ๆอยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆและทดลองทำ
บทบาทและหน้าที่ (Roles and responsibilities)
Office hours
ชั่วโมงการทำงานเหมือนกับพนักงานบริษัททั่วไป
งานเอกสาร
ทำงานเกี่ยวกับเอกสาร การร่างแบบต่างๆ ทั้งแบบเกม ลักษณะเฉพาะ (Feature) ให้ตรงตามที่กำหนด
รวบรวมและส่งต่อข้อมูล
ให้ทีมงานที่มีหน้าที่รับผิดชอบในแต่ละส่วนงาน
พูดคุยกับทีมอื่นๆ
เพื่ออธิบายคอนเซปต์ของเกมที่ต้องการพัฒนาขึ้นให้ทุกคนมีความเข้าใจที่ตรงกัน
รายได้เฉลี่ย 15,000-100,000 บาทขึ้นไปต่อเดือน สำหรับนักศึกษาจบใหม่ประมาณ 15,000-25,000 บาทต่อเดือน และปรับเพิ่มตามประสบการณ์ เนื่องจากอุตสาหกรรมเกมในไทยเป็นสิ่งใหม่และกำลังเติบโต ทำให้มีผู้เชี่ยวชาญยังไม่มาก ดังนั้นหากเป็น Game Designer ที่มีฝีมือ จะเป็นที่ต้องการและมีรายได้ค่อนข้างสูง สำหรับโอกาสความก้าวหน้าขึ้นอยู่กับทักษะฝีมือ ประสบการณ์ และเงื่อนไขของบริษัทในการกำหนดเกณฑ์รายได้
คำแนะนำเพื่อเริ่มต้นอาชีพ
LV1
รู้จักตัวเอง รู้ว่าตัวเองชอบทำอะไร มีความหลงใหลในสิ่งใด พื้นฐานอย่างแรกของ Game Designer คือ มักจะชอบเล่นเกม เพราะอาชีพนี้จะต้องอยู่กับแวดวงของเกม ดังนั้นหากเรามีความสุขกับเรื่องราวที่เกี่ยวกับเกม เป็นคนเอาจริงเอาจัง มีความคิดที่เป็นระบบระเบียบ และมีวุฒิภาวะที่สามารถควบคุมทีมงาน ก็สามารถประกอบอาชีพนี้ได้
LV2
ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ฝึกฝนความคิดด้านการออกแบบเกมในรูปแบบของตัวเอง เพราะการที่ได้ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน จะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้นว่าตัวเองมีความถนัดและเก่งในด้านใด และมีทักษะอะไรที่ควรศึกษาพัฒนาเพิ่มเติม เช่น วางแผนว่าจะออกแบบเกมแนวต่อสู้ ควรมีตัวละครตัวใดบ้างในเกม หลังจากนั้นจึงวางแผนเรื่องรูปแบบการทำงานของทีมงานต่อไป
LV3
รวบรวมผลงาน การสะสมผลงาน (portfolio) ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นสมัครงาน โดยไม่จำกัดรูปแบบของผลงาน โดยอาจจะทำจินตนาการเกมออกมาเป็นรูปร่างที่สามารถอธิบายแนวคิดต่างๆ ได้ หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ การออกแบบบอร์ดเกม (board game) เพราะสามารถนำผลงานเหล่านี้ไปต่อยอดในอาชีพ Game Designer ได้
LV4
หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ในปัจจุบันมีช่องทางมากมายสำหรับการเรียนรู้เทคนิค แนวทาง และแรงบันดาลใจต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานต่อได้ โดยดูจากสื่อออนไลน์มากมาย หรือการไปร่วมงานแสดงเกมต่างๆ เพื่อเก็บเกี่ยวข้อมูล รวมทั้งยังมีหลากหลายช่องทางในการเรียนรู้ ได้แก่ “Design Doc” และ “GameXplain” ทั้งหมดนี้คือ ก้าวสำคัญสู่การทำงานในวงการเกมของอาชีพ Game Designer นั่นเอง
LV4
หมั่นศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ในปัจจุบันมีช่องทางมากมายสำหรับการเรียนรู้เทคนิค แนวทาง และแรงบันดาลใจต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้งานต่อได้ โดยดูจากสื่อออนไลน์มากมาย หรือการไปร่วมงานแสดงเกมต่างๆ เพื่อเก็บเกี่ยวข้อมูล รวมทั้งยังมีหลากหลายช่องทางในการเรียนรู้ ได้แก่ “Design Doc” และ “GameXplain” ทั้งหมดนี้คือ ก้าวสำคัญสู่การทำงานในวงการเกมของอาชีพ Game Designer นั่นเอง
LV3
รวบรวมผลงาน การสะสมผลงาน (portfolio) ถือเป็นสิ่งสำคัญในการเริ่มต้นสมัครงาน โดยไม่จำกัดรูปแบบของผลงาน โดยอาจจะทำจินตนาการเกมออกมาเป็นรูปร่างที่สามารถอธิบายแนวคิดต่างๆ ได้ หรืออีกทางเลือกหนึ่งคือ การออกแบบบอร์ดเกม (board game) เพราะสามารถนำผลงานเหล่านี้ไปต่อยอดในอาชีพ Game Designer ได้
LV2
ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ ฝึกฝนความคิดด้านการออกแบบเกมในรูปแบบของตัวเอง เพราะการที่ได้ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำมาก่อน จะทำให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้นว่าตัวเองมีความถนัดและเก่งในด้านใด และมีทักษะอะไรที่ควรศึกษาพัฒนาเพิ่มเติม เช่น วางแผนว่าจะออกแบบเกมแนวต่อสู้ ควรมีตัวละครตัวใดบ้างในเกม หลังจากนั้นจึงวางแผนเรื่องรูปแบบการทำงานของทีมงานต่อไป
LV1
รู้จักตัวเอง รู้ว่าตัวเองชอบทำอะไร มีความหลงใหลในสิ่งใด พื้นฐานอย่างแรกของ Game Designer คือ มักจะชอบเล่นเกม เพราะอาชีพนี้จะต้องอยู่กับแวดวงของเกม ดังนั้นหากเรามีความสุขกับเรื่องราวที่เกี่ยวกับเกม เป็นคนเอาจริงเอาจัง มีความคิดที่เป็นระบบระเบียบ และมีวุฒิภาวะที่สามารถควบคุมทีมงาน ก็สามารถประกอบอาชีพนี้ได้
แนะนำหลักสูตรการเรียนการสอน
Game Designer เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยทักษะทางด้านคณิตศาสตร์ เพื่อเรียนรู้หลักพื้นฐานของคณิตศาสตร์ที่ใช้ในการออกแบบโครงสร้างเกม ต่อมาคือ ทักษะด้านการออกแบบ เรียนรู้วิธีสร้างสรรค์ผลงาน และสุดท้ายทักษะทางด้านโปรแกรมคอมพิวเตอร์และซอฟแวร์
• ด้านคณิตศาสตร์
- คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชา/ภาควิชาคณิตศาสตร์และสถิติ
สาขาวิชา/ภาควิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
• ด้านการออกแบบ
- คณะศิลปกรรมศาสตร์
สาขาวิชา/ภาควิชานฤมิตศิลป์
สาขาวิชา/ภาควิชานิเทศศิลป์
สาขาวิชา/ภาควิชามัลติมีเดียดีไซน์
- คณะดิจิทัลมีเดีย
- คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
- คณะศิลปกรรมการผลิตสื่อ
สาขาการผลิตภาพยนตร์และแอนิเมชัน