(Game AR/VR Developer)
นักพัฒนาเกม AR/VR
นักพัฒนาเกม AR/VR (Game AR/VR Developer) คือ อาชีพผู้พัฒนาซอฟต์แวร์หรือแอปพลิเคชันเกมให้สามารถใช้งานกับเทคโนโลยี AR (Augmented reality) และ VR (Virtual reality) ได้ เพื่อตอบสนองความต้องการในด้านความบันเทิงที่เหนือระดับ และเพิ่มประสบการณ์พิเศษที่สมจริงให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งนักพัฒนาเกม AR/VR จำเป็นที่จะต้องมีทักษะและความรู้ที่มากกว่าเรื่องของการโปรแกรมมิ่งสำหรับการสร้างเกมแบบทั่วๆ ไป โดยสิ่งที่จะมีเพิ่มเข้ามาสำหรับสายงานนี้ก็คือ
- ความรู้ความเข้าใจในเทคโนโลยี AR/VR ในทุกแง่มุม ทั้งความสามารถ ข้อจำกัด และเทรนด์การเปลี่ยนแปลง
- มีความเข้าใจในเรื่อง User Experience กล่าวคือ ค้นหาวิธีที่ทำให้เกิดความสมจริงในการใช้งาน และมีวิธีที่เพิ่มความสะดวกในการเล่นและการใช้งานได้บ้าง
คุณสมบัติและทักษะ (Skill)
การเขียนโปรแกรม
ทักษะเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา C#, C++ และรู้จักวิธีการใช้งาน Engine ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการสร้างเกมให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี AR/VR เช่น ซอฟต์แวร์ Unity, Unreal Engine เป็นต้น
ทักษะด้านมัลติมีเดียดีไซน์และแอนิเมชัน
ต้องมีการเรียนรู้และฝึกฝนในการทำมัลติมีเดียดีไซน์ เพราะต้องทำควบคู่กันไปกับการเขียนโปรแกรม ในบางองค์กร นักพัฒนาจะต้องมีทักษะของเรื่องการคำนวณ การวางแผน การทำโมเดลตัวละครเกมในแบบ 2D และ 3D ผ่านโปรแกรม 3D Max และ MAYA เพื่อให้โมเดลตัวละครและฉากมีความสมจริง และทำงานได้ราบรื่นในการเล่นตลอดทั้งเกม
มีความเข้าใจในเทคโนโลยี AR/VR
จะต้องมีการเรียนรู้และฝึกฝนเพิ่มเติมในเรื่องเทคโนโลยี AR/VR เพิ่มเติมเข้าไปด้วย โดยสิ่งหลักๆ ที่จะต้องรู้ ก็คือ
- แพลตฟอร์มการใช้งาน เทคโนโลยี AR/VR สามารถใช้งานผ่านอุปกรณ์ Device อะไรได้บ้าง และแต่ละอย่างจะทำงานแบบไหน AR สามารถดูผ่านอะไรได้บ้าง VR มีกี่แบบ
- วิธีการเชื่อมต่อ จะเขียนโปรแกรมอย่างไรให้ระบบของเราเข้าไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ที่เป็นฮาร์ดแวร์เหล่านั้นได้
มีความเข้าใจในเรื่อง User Experience
เทคโนโลยี AR/VR ผู้ใช้งานจะต้องมีการใช้งานผ่านอุปกรณ์ Device ที่ไม่ใช่แค่คอมพิวเตอร์หรือสมาร์ทโฟน แต่อาจจะต้องมีการใช้งานผ่านแว่น VR ผ่าน Projector และอื่นๆ นักพัฒนาจึงต้องมีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในเรื่องประสบการณ์ที่ดีในการเล่นเกมบนอุปกรณ์ AR/VR ต้องพยายามค้นหาข้อจำกัดและจุดบกพร่องของเทคโนโลยี AR/VR โดยสิ่งที่จะต้องคำนึงถึงมากเป็นพิเศษก็คือ การแสดงผล ผลข้างเคียง และความสะดวก
ทักษะด้านภาษา
จะต้องมีทักษะในเรื่องภาษาอังกฤษโดยเฉพาะการอ่านและการแปล เพราะข้อมูลหรือสื่อที่จะนำมาเรียนรู้ศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองหรือแก้โจทย์ต่างๆ นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลจากต่างประเทศแทบทั้งหมด
การสื่อสารและการปรับตัว
เพราะต้องทำงานประสานกับกับหลายฝ่ายในทีม ดังนั้น จะต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี สามารถอธิบายอะไรที่ยากให้เข้าใจได้ง่าย และจะต้องมีทักษะในการปรับตัวในการทำงานร่วมกันเป็นทีม รู้จักแบ่งเวลา และแบ่งหน้าที่
บุคลิกลักษณะ (Character)
ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ชอบศึกษาหาความรู้ และสนใจสิ่งใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวอยู่เสมอ
ชื่นชอบเทคโนโลยี มีความสนใจในเรื่องของเทคโนโลยีและการพัฒนาตนเอง
มีความมุ่งมั่นสูง ในการทำสิ่งต่างๆ อย่างไม่ย่อท้อแม้จะไม่ประสบความสำเร็จ พร้อมที่จะสลัดความล้มเหลวทิ้งและเดินหน้าต่อทันที
นักแก้ปัญหา สนุกกับการแก้โจทย์ปัญหา สามารถคิดทุกอย่างเป็นตรรกะได้ เพราะเรื่องเทคโนโลยีกับการทำงานจริงมีปัญหาให้แก้ตลอดเวลา
ใช้งาน AR/VR ได้แบบไร้ข้อจำกัด เพราะการจะเป็นนักพัฒนาด้านนี้ก็จะต้องนำตัวเองเข้าไปทดลองใช้งานด้วย
บทบาทและหน้าที่ (Roles and responsibilities)
พัฒนาเกม
ที่ใช้กับเทคโนโลยี AR/VR โดยเฉพาะ
User Experience
มีความเข้าใจในเรื่องประสบการณ์ที่ดีในการเล่นเกมบนอุปกรณ์ AR/VR ของผู้ใช้งาน
Office hours
ชั่วโมงการทำงานเหมือนกับพนักงานบริษัททั่วไป
รายได้โดยเฉลี่ยตั้งแต่นักศึกษาจบใหม่ไปจนถึงผู้ปฏิบัติงานมืออาชีพก็จะอยู่ที่ 20,000 - 40,000 บาท ส่วนโบนัสและสวัสดิการอื่นๆ ก็เป็นตามข้อตกลงและเงื่อนไขของแต่ละบริษัท
คำแนะนำเพื่อเริ่มต้นอาชีพ
LV1
Passion ความชื่นชอบในลักษณะงาน คือสิ่งที่ต้องมีเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่คุณเจอระหว่างทางได้
LV2
เรียนรู้ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ตีโจทย์ความต้องการของสังคมให้แตก สนุกกับการพัฒนาเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็คงไม่เพียงพอถ้าสิ่งที่เราพัฒนาขึ้นมานั้นไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนและสังคม ถ้าจะก้าวไปในสายอาชีพนี้อย่างมั่นคงก็จะต้องพัฒนาในสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนในสังคมได้ด้วย
LV3
การสื่อสารและการปรับตัว การทำงานในด้านนี้ไม่ใช่จะอยู่ในโลกของตัวเองเท่านั้น สิ่งต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการประสานงาน การทำงานร่วมกันกับหลายๆ ฝ่าย ดังนั้น ทักษะการทำงานเป็นทีม การปรับตัวให้เข้ากับทีม ทักษะเรื่องของการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมาก
LV3
การสื่อสารและการปรับตัว การทำงานในด้านนี้ไม่ใช่จะอยู่ในโลกของตัวเองเท่านั้น สิ่งต่างๆ จะเกิดขึ้นได้ต้องเกิดจากการประสานงาน การทำงานร่วมกันกับหลายๆ ฝ่าย ดังนั้น ทักษะการทำงานเป็นทีม การปรับตัวให้เข้ากับทีม ทักษะเรื่องของการสื่อสารเป็นเรื่องสำคัญมาก
LV2
เรียนรู้ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ตีโจทย์ความต้องการของสังคมให้แตก สนุกกับการพัฒนาเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็คงไม่เพียงพอถ้าสิ่งที่เราพัฒนาขึ้นมานั้นไม่ได้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนและสังคม ถ้าจะก้าวไปในสายอาชีพนี้อย่างมั่นคงก็จะต้องพัฒนาในสิ่งที่ตอบโจทย์ความต้องการของผู้คนในสังคมได้ด้วย
LV1
Passion ความชื่นชอบในลักษณะงาน คือสิ่งที่ต้องมีเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้ก้าวข้ามอุปสรรคต่างๆ ที่คุณเจอระหว่างทางได้
แนะนำหลักสูตรการเรียนการสอน
จริงๆ แล้วการจะเป็น Game AR/VR Developer นั้นสามารถเลือกเรียนได้หลากหลายสาขาแต่ถ้าจะให้ดี ก็ควรจะต้องเลือกเรียนมาทางสายที่เกี่ยวข้องบ้าง จะได้ไม่ต้องปรับตัวมากนักในตอนทำงานจริง ในระดับมัธยมก็ควรจะเลือกมาทางสายวิทย์-คณิต เพื่อปูทางตนเองไปสู่ระดับมหาวิทยาลัยในคณะที่เกี่ยวข้องด้านคอมพิวเตอร์ การเขียนโปรแกรม ซึ่งก็จะมีคร่าวๆ ดังนี้
- คณะศิลปศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาการออกแบบเชิงโต้ตอบ และการพัฒนาเกม
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม
หลักสูตรเกมและอินเทอร์แอคทีฟ
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์เกมมัลติมีเดีย
- คณะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและเกม
- คณะดิจิทัลมีเดีย
สาขาคอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขามัลติมีเดียแอนิเมชัน
- คณะวิทยาการสารสนเทศ
สาขาคอมพิวเตอร์แอนิเมชัน
- คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขามัลติมีเดียแอนิเมชัน
- คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
สาขาการพัฒนาสื่อประสม และเกม
- คณะมัณฑนศิลป์
สาขามัลติมีเดียดีไซน์ (Multimedia Design)